วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการความเป็นมาของชนชาติไทย

มาตรฐาน ส 4.3

เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย
มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.3.1
สรุปแนวคิดของพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทย โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
สาระการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการความเป็นมาของชาติไทย

    พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
    ด้านการเมืองการปกครอง มีพัฒนาการตั้งแต่ระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัย และเข้าสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    ด้านเศรษฐกิจ มีพัฒนาการมาตั้งแต่การผลิตแบบพึ่งตนเอง พัฒนาสู่การผลิตเพื่อขาย การผูกขาดด้านการค้า และขยายตัวเป็นแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
    ด้านสังคม มีพัฒนาการจากสังคมชนชั้นในสมัยสุโขทัยเข้าสู่สังคมศักดินาในสมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสังคมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    ด้านวัฒนธรรม ชนชาติไทยมีวัฒนธรรมของตนเองต่อมารับวัฒนธรรมจากภายนอก ได้แก่ วัฒนธรรมอินเดีย จีน และอิสลาม ต่อมารับวัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำมาปรับปรุง เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยในปัจจุบัน

พัฒนาการของชาติไทย มีพัฒนาการในช่วงการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
    การเมืองการปกครองของไทยพิจารณาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และรูปแบบการปกครองที่ใช้บริหารประเทศ การติดต่อกับชาติตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ยังทรงผนวช ทรงติดตามความเคลื่อนไหวของชาติตะวันตก โดยเรียนภาษาอังกฤษ ทรงสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษที่เผยแพร่ที่สิงคโปร์ด้วยพระองค์เอง อีกทั้งศึกษาคริสต์ศาสนาเพื่อเข้าใจความคิดของชาติตะวันตก เมื่อขึ้นครองราชย์พระองค์จึงเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันมัยแบบตะวันตก
    ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าทรงมีสถานภาพเป็นสมมติเทในรูปแบบพิธีการ แต่บทบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคล้ายกับกษัตริย์สมัยสุโขทัย ด้วยเหตุนี้จึงได้รับสมญานามว่า “พระปิยมหาราช”
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ซึ่งสังคมทางตะวันตก ได้รับอิทธิพลลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยม พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงเป็นกษัตริย์ทันสมัย เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงละครเป็นสามัญชน หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยินยอมลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงปฏิบัติพระองค์ตามพระราชภาระ ดูแลราษฎรดังเช่นพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน

ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก รวมทั้งปรับปรุงการปกครองให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้รอดพ้นจากอิทธิพลชาติตะวันตกโดยปรับปรุงการปกครองดังนี้
1. ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาและถวายคำแนะนำข้อราชการสำคัญ ๆ แก่พระมหากษัตริย์ ส่วนสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์มีหน้าที่สอดส่องดูแลความเดือดร้อนของราษฎร การชำระคดีความที่มีผู้ทูลเกล้าถวายฎีกา
2. การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง โดยทรงโปรดให้จัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ตามแบบชาติตะวันตกขึ้น ทำให้การบริหารราชการในแต่ละหน่วยงานเป็นระบบและชัดเจนขึ้น
3. การปฏิรูปการปกครองหัวเมือง โดยนำระบบเทศาภิบาล มาใช้ปกครองประเทศ โดยหัว เมืองต่าง ๆ ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็น มณฑล เมือง แขวง ตำบล และหมู่บ้าน    ดังนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สถาบันกษัตริย์เข้มแข็งมั่นคงขึ้น
    การปฏิรูปการปกครองทำให้เกิดการสร้างรัฐประชาชาติ (Nation State) เป็นประเทศหรือรับแบบใหม่ นอกจากนี้แนวคิดเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้รับความสนใจจากปัญญาชาวไทยที่ได้ศึกษาแบบตะวันตกเกิดความเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงการปกครอง จะเห็นได้จากข้อเรียกร้องของเจ้านายและข้าราชการระดับสูง และกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีนายทหารกลุ่มหนึ่งวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตั้งดุสิตธานีเพื่อเป็นการจำลองเมืองที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดกระแสความกดดัน ความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ยุคประชาธิปไตย
    เริ่มต้นโดยคณะราษฎร ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนทำการยึดอำนาจเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินยอมให้อำนาจพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลังเปลี่ยนการปกครองเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ได้แก่
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
    สมัยรัตนโกสินทร์ยุคใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เศรษฐกิจในยุคนี้เป็นการค้าเสรี โดยไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ สาระสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ได้แก่
1. ให้สิทธิแก่พ่อค้าอังกฤษ (หมายถึง บุคคลในบังคับอังกฤษด้วย) เข้ามาค้าขายตามเมืองท่าของไทยโดยเสรี
2. รัฐบาลไทยเก็บภาษีขาเข้าไม่เกินร้อยละ 3 สินค้าขาออกกำหนดในอัตราตายตัวในแต่ละชนิดสินค้า ส่วนการส่งข้าวออกนั้นห้ามในกรณีเกิดภาวะขาดแคลน
    การค้าเสรีทำให้การค้าแบบผูกขาดของไทยถูกยกเลิกอย่างเด็ดขาด การที่มีเรือชาวต่างชาติมาค้าขายเพิ่มขึ้น และมีการลงทุนทำการค้า อีกทั้งยังนำสินค้าจากต่างประเทศมาจำหน่าย การผลิตสินค้าเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก ชาวนามีบทบาทในการผลิตข้าว ต่อมาชาวนาเริ่มผลิตข้าวเพื่อขายโดยเฉพาะละทิ้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การทอผ้า การผลิตเครื่องใช้ประเภทกระบุง ตะกร้า เครื่องใช้ในการจับปลา เนื่องมาจากสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศราคาถูกกว่า หาซื้อง่าย ไม่จำเป็นต้องผลิตเอง เศรษฐกิจไทยจึงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ผลที่ตามมาทำให้เศรษฐกิจไทยต้องอิงอยู่กับเศรษฐกิจโลกและคนไทยพึ่งพาจากภายนอกประเทศ
พัฒนาการด้านสังคม
    ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มเปลี่ยนแปลงในด้านความสัมพันธ์ของคนในสังคม ซึ่งเคยผูกพันด้วยภาระหน้าที่ตามโครงสร้างของสังคมและระบบศักดินา ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการจัดจ้างงาน ระยะแรกส่วนใหญ่เป็นการจ้างชาวจีนอพยพ ต่อมากลุ่มนี้กลายเป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทอง จึงเป็นผู้มีอิทธิพลรับใช้ชนชั้นปกครอง เช่น ขุนนาง นายอากร ผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร โครงสร้างสังคมแบบอยุธยาจึงเปลี่ยนรูปแบบใหม่
    ช่วงที่สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันสมัยแบบตะวันตกเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 จึงเห็นว่าพัฒนาประเทศให้ทันสมัยจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งทำให้บ้านเมืองปลอดภัย สิทธิของสตรีที่บรรลุนิติภาวะมีอิสระในการเลือกคู่ การส่งเสริมการศึกษา และโปรดให้คณะมิชานารีสอนภาษาอังกฤษแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร เป็นต้น ระบบศักดินาที่แรงงานไม่มีอิสระและการเก็บภาษียังคงเก็บเป็นส่วยนั้นไม่เหมาะกับสังคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงโดยการเลิกไพร่ และทาสในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้พระราชโอรสและข้าราชการไปศึกษาต่างประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศ ในด้านกฎหมาย การแพทย์ จนกระทั่งนักเรียนไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศต้องการให้ประเทศไทยมีความเจริญเช่นเดียวกับประเทศตะวันตกจนก่อให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมมีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นเพราะต่างฝ่ายทั้งชาย หญิงต่างมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง แต่ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมไทยยังเป็นระบบอุปถัมภ์ ประกอบกับความแตกต่างด้านการดำรงชีวิตในสังคมระหว่างคนจนและคนรวยมีมากขึ้น โดยที่รัฐบาลไทยยุคประชาธิปไตยพยายามแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคม เช่น โครงการพัฒนาชนบท การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นการวางแนวทางการพัฒนาประเทศ เป็นต้น
พัฒนาการด้านวัฒนธรรม
    การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ชัดเจน คือ การยอมรับอิทธิพลชาติตะวันตกในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ยอมรับความเจริญจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาวตะวันตก และพระองค์ทางศึกษาภาษาอังกฤษ คริสต์ศาสนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้โปรดให้ยกเลิกธรรมเนียมเดิมของไทย ได้แก่ ยกเลิกการหมอบคลาน ให้ข้าราชการสวมเสื้อผ้าเข้าเฝ้าให้พระราชโอรสเรียนภาษาอังกฤษทำให้เป็นพื้นฐาน ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก เช่น โรงเรียนสำหรับกุลบุตร กุลธิดา รัชกาลที่ 5 โปรดให้พระราชโอรสและข้าราชการไปศึกษาในประเทศยุโรป เมื่อบุคคลเหล่านี้กลับมา ได้นำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การแต่งกายแบบตะวันตก การรับประทานอาหารด้วยมีด ช้อน ส้อม กาแฟ การดื่มน้ำชากาแฟ การเล่นกีฬา ดูภาพยนตร์ การนำรถยนต์มาใช้ การใช้ภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมตะวันตกจากชนชั้นสูงได้กระจายสู่สังคมไทย การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบชาวตะวันตกมากขึ้นในปัจจุบัน

                                                      แบบทดสอบ
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อใดไม่ใช่เครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
    ก. การกระจายการผลิตสินค้าและบริการหลายชนิด
    ข. การพัฒนาเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง
    ค. การเพิ่มอัตราประชากรผู้รู้หนังสือ
    ง. การเพิ่มการส่งออกสินค้าไปขายในตลาดโลก
2. การเปลี่ยนแปลงด้านใดตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ช้าที่สุด
    ก. ด้านสังคม                          ข. ด้านเศรษฐกิจ
    ค. ด้านวัฒนธรรม                   ง. ด้านการปกครอง
3. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
    ก. ความวุ่นสายภายในประเทศ               ข. ความเสื่อมของระบบมูลนาย –ไพร่
    ค. ภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก    ง. โครงสร้างการปกครองล้าสมัย
4. ไทยถูกเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างไรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
    ก. บริจาคข้าวจำนวนหนึ่งแก่อังกฤษ
    ข. เสียเงินค่าปฏิกรรมสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตร
    ค. ยอมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาควบคุมธุรกิจภายใน
    ง. ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี
5. การพัฒนาทางสังคมในสมัยรัชกาลที่ 6 ในลักษณะใดที่เกิดประโยชน์สูงสุด
    ก. กำหนดเกณฑ์การเข้าเรียนหนังสือสำหรับเด็กไทย
    ข. ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานเปลี่ยนเป็นระบบเกณฑ์ทหาร
    ค. ส่งเสริมความรู้สึกชาตินิยมผ่านทางวรรณกรรม
    ง. สนับสนุนบทบาทและความสำคัญของกลุ่มเสือป่า
6. วิกฤติการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อให้เกิดผลด้านการเมืองที่สำคัญหลายประการ ยกเว้นข้อใด
    ก. กลุ่มอาชีพต่าง ๆ เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิประโยชน์และเสรีภาพ
    ข. มีการเลือกตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญใหม่
    ค. ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517
    ง. ทหารและกองทัพลดบทบาทการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนถึงปัจจุบัน
7. การจัดระเบียบสังคมไทยสมัยอยุธยาเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
    ก. ความมั่นคงของอาณาจักร    ข. กำลังแรงงานของทางราชการ
    ค. ความเจริญของบ้านเมือง      ง. ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับ มูลนาย
8. การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเสริมความมั่นคงให้แก่สถาบันกษัตริย์ในตอนต้นรัชกาลที่ 5 คือข้อใด
    ก. การเริ่มจัดทำงบประมาณแผ่นดิน    ข. การยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร
    ค. การจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการ        ง. การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
9. เหตุการณ์ใดที่ทำให้บางประเทศคืนสิทฺสภาพนอกอาณาเขตให้ไทย
    ก. รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาประเทศในยุโรป
    ข. การเจรจาของสมเด็จฯ กรม พระยาเทววงศ์วโรปการ
    ค. ไทยยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส
    ง. รัชกาลที่ 6 ส่งทหารเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
10. การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยด้านใดที่ไม่ได้เป็นผลจากการยกเลิกระบบไพร่
    ก. เกิดการฝึกหัดทหารอาชีพเข้ารับราชการประจำ
    ข. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศมากขึ้น
    ค. ประชาชนมีโอกาสเลื่อนสถานภาพทางสังคม
    ง. ประชาชนมีอิสระในการตั้ง ถิ่นฐานและประกอบอาชีพ
11. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 มีลักษณะสำคัญอย่างไร
    ก. รับวัฒนธรรมของโลกตะวันตกที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
    ข. ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมโลกตะวันตกเท่าที่จำเป็น
    ค. รับเอาสังคมวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาในสังคมไทยในลักษณะถูกบังคับจากมหาอำนาจ
    ง. การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทยเกิดขึ้นเฉพาะในเขตเมืองหลวงเท่านั้น
12. การเมืองการปกครองของไทยช่วงระหว่าง พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2514 มีลักษณะอย่างไร
    ก. ฝ่ายการเมืองบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
    ข. ฝ่ายทหารมีบทบาทในระบบอำนาจนิยม
    ค. ข้าราชการพลเรือนควบคุมการบริหารราชการ
    ง. กลุ่มนักธุรกิจการเมืองมีบทบาทบริหารประเทศ
13. ความล้มเหลวด้านการคลังของไทยสมัยรัชกาลที่ 6 – 7 ประกอบด้วยสาเหตุต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
    ก. รัฐบาลมุ่งลงทุนเฉพาะด้านความมั่นคงของประเทศ
    ข. รัฐบาลไม่สามารถหาแหล่งรายได้มาเพิ่มเติม
    ค. รัฐบาลใช้จ่ายเงินสูงกว่ารายรับ
    ง. รัฐบาลไม่ได้จัดระบบการเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ
14. สาเหตุใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยแรกที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
    ก. แนวคิดเรื่องชาตินิยมของผู้นำประเทศ
    ข. เพื่อรวมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการทำสงครามมหาเอเชียบูรพา
    ค. โลกตะวันตกกำลังบ่อนทำลายวัฒนธรรมของชาติไทย
    ง. เศรษฐกิจโลกกำลังตกต่ำอย่างรุนแรงและขยายตัวไปทั่วโลก
15. “สมุดปกเหลือง” ที่พิมพ์ขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 เกี่ยวกับเรื่องอะไร
    ก. อุดมการณ์ของคณะราษฎร             ข. แถลงการณ์โจมตีคระราษฎร
    ค. นโยบายทางการเมืองของรัฐบาล    ง. เค้าโครงเศรษฐกิจ
16. ข้อใดมีส่วนน้อยที่สุดในการก่อให้เกิดความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาค
    ก. การมีรูปแบบทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน
    ข. การมีสภาพภูมิศาสตร์แตกต่างกัน
    ค. การมีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณแตกต่างกัน
    ง. การมีความเชื่อทางศาสนาแตกต่างกัน
17. การเติบโตทางเศรษฐกิจในสมัยรัชการที่ 5 เป็นผลมาจากปัจจัยหลากหลาย ยกเว้น ข้อใด
    ก. การสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
    ข. การขุดคลองในบริเวณทุ่งรังสิต
    ค. การสร้างระบบชลประทานในลุ่มน้ำบางประกง
    ง. การยกเลิกชนไพร่และระบบทาส
18. ขอมพล ป.พิบูลสงครามใช้วิธีการใดแก้ปัญหาการครอบงำทางเศรษฐกิจของชาวต่างชาติ
    ก. เร่งส่งเสริมระบบการค้าเสรีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    ข. ออกกฎหมายห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดิน
    ค. จัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินการผลิตและการค้า
    ง. ออกกฎหมายโอนอุตสาหกรรมการผลิตของชาวต่างชาติเป็น ของรัฐ
19. ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลี่ 5
    ก. การตั้งรัษฎากรพิพัฒน์
    ข. การทำงบประมาณแผ่นดิน
    ค. การใช้เงินตราต่างประเทศเป็นทุนสำรอง
    ง. การจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษมาช่วยราชการ
20. คำขวัญ “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” มีจุดมุ่งหมายใด
    ก. เพื่อกระตุ้นให้คนไทยร่วมมือต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น
    ข. เพื่อกระตุ้นให้คนไทยร่วมมือต่อต้านคอมมิวนิสต์
    ค. เพื่อให้คนไทยเทิดทูนสถาบันกษัตริย์
    ง. เพื่อให้คนไทยทำตามนโยบายของจอมพลป.พิบูลสงคราม

มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.3.2

ศึกษากรณีตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยและอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติด้วยความภูมิใจ
สาระการเรียนรู้
ภูมิปัญญาไทย
    ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวมและถ่ายทอดความรู้ ปรับปรุงจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลงดงามมีคุณค่า นำมาพัฒนาวิถีชีวิต
    ความหมายของภูมิปัญญา ภูมิปัญญาตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom มีความหมายว่า ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม และความสามารถในการแก้ปัญหาของมนุษย์ ส่วนความหมายตามพจนานุกรม คำว่า ภูมิ หมายถึง แผ่นดิน พื้นเพ คำว่าปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดที่เกิดจากการเรียนรู้ ดังนั้นภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความฉลาด ความรอยรู้ของทองถิ่นหรือสังคมนั้น ๆ
ที่มาของภูมิปัญญาไทย
    ภูมิปัญญาไทยที่มาจากคนและสิ่งที่คนไทยประดิษฐ์ค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิต อาจมาจากบรรพบุรุษ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภูมิปัญญาไทยหรือได้รับอิทธิพลมาจากภูมิปัญญาของชาวต่างชาติแล้วนำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมของไทยจนเกิดเป็นภูมิปัญญาไทย
    คนไทยได้สืบทอดภูมิปัญญา องค์ความรู้ที่มีอยู่ดั้งเดิมในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ แล้วพัฒนาเลือกเฟ้นปรับปรุงองค์ความรู้จนเกิดทักษะและความชำนาญ ปัจจุบันนักเรียนกำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่รักสวยรักงามต้องเผชิญกับการรับประทานที่บางมื้อการรับประทานแล้วไม่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบกับภาวการณ์เร่งรีบต่าง ๆ จึงทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป ดังนั้นการรับประทานอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพจึงมีความจำเป็น การรับประทานพืชผักผลไม้เพื่อคุณค่าทางอาหาร หรือเพื่อผิวสวยนั้นจึงควรนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ อย่างเช่นกรณีรับประทานพืชผักแล้วเกิดประโยชน์ต้อร่างกายอย่างไรบ้าง ขอให้การศึกษาจากตัวอย่างต่อไปนี้

พืชผักที่เป็นประโยชน์ในด้านอาหารและยา
การนำพืชผักจากธรรมชาติมาใช้เพื่อสุขภาพ เช่น

มะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นพืชที่มีน้ำมาก อุดมด้วยวิตามิน ช่วยปรับสมดุลของเลือดในร่างกาย สรรพคุณนั้นเย็นเล็กน้อยช่วยดับกระหาย แก้แผลร้อนในภายในช่องปาก กาหรับประทานเล่น ๆ วันละ 1 – 2 ผลตอนเช้าขณะท้องว่างช่วยลดความดัน แก้เส้นเลือดขึ้นตาขาว และช่วยให้อาการของโรคหัวใจ ตับอักเสบดีขึ้น อย่างไรก็ตามถึงจะมีสุขภาพแข็งแรงก็สมควรกินมะเขือเทศเป็นประจำ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพราะมีวิตามินบี 1 มาก ทำให้ความจำดีขึ้น และลดอาการอ่อนล้าของสมอง นอกจากนี้รับประทานมะเขือเทศมาก ๆ ทำให้ผิวสวยอีกต่างหาก

                                                                                                                               ขิง
ขิงโดยมากจะเห็นกันในรูปของการปรุงอาหารหรือชงน้ำดื่ม แต่คุณค่าสำคัญ คือ น้ำมันหอมระเหยซึ่งขิงแก่จะมีมากกว่าขิงอ่อน มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการแน่นจุกเสียด ท้องอืดเฟ้อ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ไอขับเสมหะ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยในการบรรเทาอาการเนื่องมาจากหวัด เช่น ปวดท้องเป็นไข้ ไอ
    อาการปวดท้องเป็นไข้ ต้มขิงแห้ง 2 กรัมกับขิงสด 7 กรัมกับน้ำตาลทรายแดงหรือจะต้มกับน้ำตาลจากอ้อยโดยใช้ขิงสด 5 – 10 แว่น
    ลดไข้ นำขิงแก่มาบดสัก 100 กรัม ต้มเอาน้ำเช็ดตัวขับเหงื่อดี นอกจากนี้ขิงทุบละเอียดพอกบริเวณขมับแก้อาการปวดหัว
   อาการไอ ใช้ขิงแก่ขูดแล้วคั้นเอาผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงไปในน้ำต้ม 1 – 2 ถ้วย แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ถ้าไอแบบมีเสมหะให้ใช้เหง้าสดตำเติมน้ำมะนาวอย่างละเท่า ๆ กันเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ หรือคั้นน้ำขิงสดประมาณครึ่งถ้วยผสมน้ำผึ้ง 30 กรัมอุ่นให้ร้อนก่อนดื่ม
    ขิงอ่อนกินเพียว ๆ สัก 2 – 3 แว่นช่วยย่อย ถ้านำมาต้มน้ำนานสัก 10 นาทีดื่มเป็นชารักษาอาการบวม อาเจียน อาการไอ และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำขิงคั้นจะช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือ สะอึก อาเจียน อาหารเป็นพิษได้ หรือจะใช้เป็นขิงสดสับละเอียดต้มน้ำดื่มขณะท้องว่างได้ผลเช่นกัน ถ้าใช้ขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือทุบให้แตกหรือฝานเป็นแว่น ๆ ชงน้ำร้อน 1 ถ้วย ปิดฝาทิ้งไว้ 5 นาที แบ่งดื่ม 3 ครั้งหลังอาหาร ยามอากาศเย็นหากปวดหัว ปวดกระดูก แก้ได้ด้วยขิงสด และใบหอมสดจำนวนพอ ๆ กัน สับละเอียดนำไปคั่วจนร้อนแล้วห่อด้วยผ้า ใช้ทาบริเวณที่ปวด
    ข้อควรระวัง คือ อย่ารับประทานน้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมาก ๆ เพราะจะมีฤทธิ์ตรงกันข้าม คือ จะระงับการบีบตัวของลำไส้จนอาจหยุดบีบตัวไปเลย

มะระ
มะระนั้นมีรสขมแต่ขมเป็นยาที่แก้ไข แก้ไอ แก้หวัด กรณีเป็นยาแก้ไข้จริง ๆ ใช้ทั้งผล ราก ใบ ดอก เถา อย่างละกำมือ ใส่น้ำท่วมยา ต้มให้เดือดสัก 20 – 30 นาที ดื่มน้ำ ½ -1 แล้วก่อนอาหารทำติดต่อ 3 – 4 วัน อาการจะดีขึ้น ถ้าไม่ยุ่งยากก็เอาไปลวกหรือต้มสุกก่อน แล้วกินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือถ้ากลัวขมนักก็เอาไปหั่นเป็นแว่น ๆ ทอดกับไข่หรือทำเป็นแกงจืดต้มซี่โครงหมู มะระยังใช้แก้เบาหวาน จากการทดลองผลมะระแห้งออกฤทธิ์เหมือนอินซูลิน คือ ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ขณะที่ผลของเมล็ดมะระแห้งออกฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด น้ำคั้นมะระยังกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินและเพิ่มการใช้น้ำตาลของเนื้อเยื่อ ลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร จึงทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงตามทฤษฎีแพทย์จีนอาหารขมช่วยบำรุงตับ มะระจึงเหมาะสำหรับคนเป็นโรคตับ ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงกำลังจึงเหมาะกับผู้ที่เคร่งเครียด (ชาวซีเรียส) และกินเป็นประจำทำให้สายตาดี นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าอยู่ว่าช่วยต้านทานเชื้อ HIV หรือไม่

                                                                                                 ตำลึง
ตำลึงเป็นผักเพื่อสุขภาพ เพราะยอดตำลึงมีแร่ธาตุชั้นยอด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กแถมด้วยวิตามินเอ บำรุงสายตา ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง และยังช่วยไม่ให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากใบและเถาตำลึงมีเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ตัวย่อยแป้งซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดอาการท้องอืดเฟ้อ แต่จะให้ดีควรรับประทานในรูปของตำลึงสดหรือใช้ความร้อนไม่สูงในการปรุงอาหาร เพราะเอนไซม์ที่ว่าจะสลายง่ายเมื่อถูกความร้อน ที่สำคัญของตำลึงห็คือฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยการคั้นน้ำจากใบและเถาตำลึงหรือจะเป็นน้ำคั้นจากผลดิบ กลั้นใจลืมความเหม็นเขียวแล้วใช้ดื่มให้ได้วันละ 2 ครั้งจะช่วยลดน้ำตาลของคนที่มีปัญหาเรื่องโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี
    หากมีอาการผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อนเพราะถูกแมลงสัตว์กัดต่อยหรือเป็นพิษ เช่น ใบตำแย หมามุ่ย ให้ใช้ใบตำลึงสด 1 กำมือล้างสะอาด ตำให้แหลกผสมน้ำเล็กน้อย ใช้น้ำที่คั้นได้ทาบริเวณที่มีอาการทาซ้ำบ่อย ๆ จนกว่าจะหายหรืออาจจะใช้ทั้งใบพอกด้วยก็ได้

หน่อไม้
กล่าวกันว่าหน่อไม้เป็นอาหารที่ค่อนข้างอันตราย มิควรรับประทาน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเรื้อรังหรือฟื้นจากโรค เพราะหน่อไม้จะขุดเอาโรคเหล่านั้นกลับคืนขึ้นมาอีก ทว่าจริง ๆ แล้วหน่อไม้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยให้โปรตีนสูง มีไขมันน้อย ช่วยย่อยอาหาร ไม่ทำให้อ้วนและกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก หน่อไม้มีวิตามินบี 1, บี 2, วิตามินซี และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้มีสรรรพคุณแก้กระหาย ขับปัสสาวะ ละลายเสมหะ แก้ไอ บำรุงกำลังและแก้อาการร้อนต่าง ๆ ได้อย่างดี ถ้านำหน่อไม้สดมาต้มเป็นข้าวต้มรับประทานสามารถแก้โรคบิดเรื้อรังได้ ถ้าเป็นหน่อไม้ฝรั่งจะมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ และช่วยลดความดันของเลือด ขยายหลอดเลือด ข้อควรระวังในการรับประทานหน่อไม้ คือ สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารขั้นรุนแรง ปวดท้องมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคไตอักเสบ เป็นนิ่ว ตับแข็ง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยหน่อไม้ ดังนั้นจะรับประทานหรือไม่รับประทานมากน้อยเพียงไรต้องว่ากันเป็นคน ๆ ไป

ผลไม้ที่เป็นประโยชน์ด้านอาหารและยา

ฝรั่ง
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานแล้วแก้โรคบิด เบาหวาน ริดสีดวงทวาร หากเสียงแหบแห้งคออักเสบแก้ได้โดยการดื่มน้ำฝรั่งตากแห้ง ส่วนน้ำต้มใบฝรั่งสดใช้ดื่มรักษาและป้องกันลำไส้อักเสบ บิด และท้องเสีย โดยดื่มวันละ 2 – 3 ครั้ง ถ้าหากเป็นอาการแบบเฉียบพลันให้ต้มฝรั่งสับ 250 กรัมกินวันละ 3 ครั้ง อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานแก้ได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการดื่มน้ำคั้นฝรั่งสดสับก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง
   โรคผิวหนังอักเสบ มีผื่นแดง พุพอง แสบคัน ใช้น้ำต้มใบฝรั่งล้างบริเวณที่เป็นหลาย ๆ ครั้งให้ต้มฝรั่งสด 500 กรัมรวมกับฝรั่งแห้ง 250 กรัม เคี่ยวจนข้นใช้ล้างในลักษณะเดียวกัน ทั้งยังช่วยรักษาแผลเลือดออกและริดสีดวงทวารอย่างได้ผล นอกจากนี้เป็นที่ทราบกันดีของบรรดาผู้มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก จากพิรุธของเมรัย หรือผู้ที่ต้องการความใกล้ชิดอย่างมั่นใจ เพียงเคี้ยวใบฝรั่ง 2 – 3 ใบเป็นอันสบายใจได้

                                                                                                              แอปเปิล
แอปเปิลสามารถเป็นยารักษาโรค โดยมีคุณสมบัติในการรักษาสมดุลของร่างกาย ซึ่งแอปเปิลมีเกลือโพแทสเซียมมากช่วยกระตุ้นการขับเกลือโซเดียมออกจากร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตลดลง รับประทานแอปเปิลปอกเปลือกวันละ 3 ลูก ช่วยรักษาระดับความดันโลหิต ถ้ารับประทานครั้งละ 2 ลูกวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีระบบขับถ่ายไม่ปกติ แอปเปิลมีวิตามินมากทำให้อุจจาระอ่อนตัว มีเกลืออินทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ สารเพคตินช่วยปรับสมดุลของระบบการย่อยอาหาร แต่ถ้าเกิดอาการท้องร่วง ให้รับประทานเนื้อแอปเปิลสับละเอียดติดต่อกัน 2 วัน ระบบคืนสู่ภาวะปกติ ส่วนเปลือกแอปเปิลสดนำมาต้มน้ำดื่มแก้คลื่นไส้ มีเสมหะ

มะม่วง
มะม่วงผลไม้หน้าร้อน แก้โรคได้ตั้งแต่เปลือก เนื้อ เมล็ด ใบ รับประทานมะม่วงวันละ 2 ผลก็รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ กินทั้งเปลือกวันละ 1 ผล เช้า – เย็น ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการแน่นหน้าอก ท้องอืด ถ้ากินทั้งเปลือก 1 ผล วันละ 3 ครั้งแก้อาการไอ มีเสมหะ และหอบหืด สูตรพิเศษแก้หูดให้กินมะม่วงสดวันละ 1 – 2 ผลและใช้เปลือกทาบริเวณที่เป็น
    นอกจากนี้ใบมะม่วงมีสรรพคุณรักษาบาดแผลจากอาวุธ โดยใช้ใบต้มน้ำล้างแผล หรือจะใช้ใบล้างสะอาดตำแหลกพอกแผลช่วยสมานแผลได้เร็วยิ่งขึ้น

                                                                                                                            อ้อย
อ้อยเป็นไม้มงคลที่ขาดไม่ได้ในขบวนแห่ขันหมาก เพราะเชื่อว่าส่งผลให้ชีวิตคู่หวานชื่น ทั้งยังเชื่อกันว่ามาแต่ดั้งเดิมว่าอ้อยมีสรรพคุณเป็นยาดับร้อน บำรุงกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร น้ำอ้อยไม่เพียงแต่ให้ความหวาน เย็น ชื่นใจ ยังสามารถนำมาปรุงเป็นยาตำรับพื้นบ้านได้อีก เช่น แก้อาการไอเรื้อรังจากวัณโรคปอด โดยการนำน้ำอ้อย 1 ½ ลิตร ผสมข้าวสารจำนวนพอเหมาะ ต้มเป็นข้าวต้มกิน แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง น้ำอ้อยสดครึ่งแก้วผสมน้ำคั้นจากขิงสดหนึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วตั้งไฟพออุ่น ดื่มรักษาอาการอาเจียนไม่หยุด เช่น ที่พบในโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารระยะต้น
   อ้อยคั้นจนหมดน้ำเหลือแต่ชานอ้อย ยังนำมาต้มกับสุรากินแก้อาการปัสสาวะขัดหรือกระเพาะปัสสาวะแน่นได้อีก กระทั่งเปลือกอ้อยยังใช้แก้โรคศีรษะเป็นชันนะตุ เหงือกอักเสบ มีแผลในช่องปาก โดยนำมาคั่วจนเกรียมบดเป็นผงละเอียดผสมกับน้ำมันงา ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง ส่วนเนื้ออ้อย (ช่วยขัดฟัน) น้ำอ้อย ชานอ้อย เปลือกอ้อย เลือกใช้ได้ตามวาระ

มะละกอ
มะละกอดิบสามารถรักษากระเพาะ ลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง ท้องไส้สะอาดไม่มีไรเหลือค้างหมักหมม ให้ลมล่างส่งกลิ่นปากรบกวนชาวบ้าน นอกจากนี้มี Capaine ช่วยบำรุงหัวใจและช่วยต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เชื้อวัณโรค และเชื้ออะมีบาได้อีก
   มะละกอสุกแช่เย็น 15 นาทีก็อร่อย เย็นชื่นใจแก้ร้อนในอีกด้วย หากจะทำยาถ่ายพยาธิเส้นด้ายมี 3 วิธี
      วิธีที่ 1 ใช้ยางสดของมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะตีผสมไข่ 1 ฟอง ทอดให้กินตอนเช้าตอนท้องว่าง
      วิธีที่ 2 ยางมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำร้อน 3 – 4 ช้อนโต๊ะกินรวดเดียวแล้วกินน้ำมันละหุ่ง 2 – 3 ช้อนชา หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 2 วัน
      วิธีที่ 3 ใช้เมล็ดมะละกอแก่ ๆ สด หรือแห้งใหม่ ๆ 1 – 1 ½ ช้อนกาแฟคั่วพอแห้งแล้วบดละเอียดเติมน้ำผึ้งจะได้รับประทานง่าย แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 2 – 3 วัน

จากที่กล่าวมาการรับประทานผักผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ที่ยกตัวอย่างมาให้เข้าใจเป็นผัก ผลไม้ ที่รักษาสุขภาพร่างกายอย่างง่าย ๆ และเป็นผักผลไม้ที่หาง่ายในท้องตลาดและมีคุณประโยชน์อย่างมากมาย

มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.3.3
ศึกษาวิเคราะห์ผลงานตัวอย่างของบุคคลสำคัญทั้งในและต่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ไทย

สาระการเรียนรู้
บุคคลสำคัญและผลงานในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชาติไทย

บุคคลสำคัญและผลงานในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาชุ่ม (โรจนดิส) สมเด็จฯ กรมพระบาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระชนมมายุ 29 พรรษา และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี และนายกราชบัณฑิตตยสภา คุณูนานัปการที่มีต่อประเทศชาติ ได้แก่
    ด้านการปกครอง กิจการในกระทรวงมหาดไทยนั้นทรงวางรากฐานระบบเทศาภิบาล โดยยึดอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สร้างเอกภาพและความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักรไทย ทรงเป็นยอดนักปกครองในการปฏิรูปการปกครองของประเทศ
    ด้านวรรณกรรม ผลงานพระนิพนธ์ของพระองค์ คือ ทรงศึกษาและค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธศาสนา และวรรณคดี เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเลือกเฟ้นข้อมูลและเอกสารจำนวนมากทั้งของไทยและของต่างประเทศ ตรวจสอบและวิพากษ์ข้อมูลโดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างมะมัดระวังโดยปราศจากอคติ
    นอกจากนี้ยังทรงสร้างหอสมุดวชิรญาณขึ้นเป็นหอสมุดแห่งแรกของไทยใน พ.ศ. 2424 เพื่อจัดเก็บเอกสารเก่าหายาก เอกสารในประเทศ พงศาวดารประเทศเพื่อบ้าน และบันทึกชาวต่างชาติ งานพระนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งหมด 1,050 เรื่อง ทรงได้รับการสดุดีว่าเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์นานัปการต่อประเทศชาติ ได้แก่
1. ความสามารถด้านช่างและศิลปะจนได้รับการยกย่องเป็นบรมครูช่างศิลปะ จน UNESCO ประกาศเกียรติคุณในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกประจำปี พ.ศ. 2506
    ผลงานด้านจิตรกรรมที่ทรงคุณค่า เช่น
    - ภาพสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดารสมัยอยุธยา
    - ภาพมัจฉาชาดกที่หอพระคันธารราษฎรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    - ภาพร่างเรื่องพระเวสสันดรชาดกสำหรับเขียนลงผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส
    - ภาพเขียนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
ผลงานด้านออกแบบสถาปัตยกรรม เช่น พระอุโบสถวัดราชาธิวาส และสถูปเจดีย์หลังพระอุโบสถ พระองค์ทรงสามารถทางด้านดนตรีไทยหลายอย่าง เช่น ขลุ่ย ระนาด ปีพาทย์ ผลงานด้านการนิพนธ์เพลง ได้แก่ เพลงเขมรไทยโยค เพลงมหาชัย เป็นต้น
2. ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงพระคลังมหาสมบัติกระทรวงวัง

พระยาอนุมาราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
    พระยาอนุมาราชธน เป็นบุตรของนายหลี และนางเฮียะ ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ท่านเป็นผู้ชอบอ่านหนังสือและช่วยอ่านหนังสือให้บิดาฟังเป็นประจำจึงเป็นพื้นฐานสำคัญให้ท่านเรียนดีวิชาที่สนใจ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และภาษาอังกฤษที่ช่วยส่งเสริมความเป็นปราชญ์ในเวลาต่อมา
    พระยาอนุมานราชธนได้รับแปลและเขียนหนังสือมาตั้งแต่รับราชการที่กรมศุลากร ท่านมีความรู้ความคิดกว้างขวางโยมีนามปากกา เช่น เสฐียรโกเศศ และนามานุลักษณ์ เป็นต้น ผลงานด้านหนังสือที่ได้ตีพิมพ์มีจำนวนมากกว่า 200 เรื่อง แพร่หลายด้านภาษา วรรณคดี วัฒนธรรม ศาสนา ประวัติศาสตร์ อีกทั้งท่านเป็นนักปาฐกถาอีกด้วย นอกจากนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2485 และเป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนแรก และจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มงานสารานุกรมไทยใน พ.ศ. 2496 ตลอดจนการสร้างงานบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2503 ทั้งยังเป็นกรรมการจัดทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ชุดแรก พระยาอนุมานราชธนเป็นบุคคลสำคัญของไทยในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม และเป็นราชบัณฑิตที่ทรงความรู้ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านวัฒนธรรมของชาติด้านภาษาศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยาเมื่อ พ.ศ. 2531 ได้รับประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี แซร์)
    พระยากัลยาณไมตรีเป็นชาวอเมริกัน จบจากวิทยาลัยฮาร์วาณืด อายุได้ 27 ปี และได้ศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย และเป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายในเวลาต่อมา ท่านสอนวิชากฎหมายที่มุ่งเน้นจริยธรรมทางกฎหมาย เพื่อช่วยหาทางให้มนุษยชาติที่ด้อยโอกาสได้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ได้รับความคุ้มครองให้มีเสรีภาพเสมอหน้าอย่างมีมนุษยธรรม
    ในรัชกาลที่ 5 ดร.ปรานซิส บี. แซร์ ได้ถูกส่งเข้ามารับช่วงแทนที่ปรึกษาคนก่อน มาเป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศ และได้พยายามขอแก้สนธิสัญญาด้วยการผ่อนสั้นผ่อนยาวตามโอกาสด้วยเชิงการทูตต่อประเทศคู่สัญญา ใช้เวลายาวนานร่วม 2 ปี ปละประสบความสำเร็จทำให้ไทยได้รับเสรีภาพทางภาษีอากรคืนมา และเอกราชสมบูรณ์ในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และยังได้ช่วยองค์การสหประชาชาติดำเนินการให้นานาชาติที่เคยถูกยึดครองของมหาอำนาจกลับได้รับเอกราชอีกปลายประเทศ รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นความดีที่มีต่อประเทศชาติได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ดร.ฟรานซิส บี แซร์ขึ้นเป็นกัลยาณไมตรี อีกทั้งแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้แทนประเทศไทยประจำศาลอนุญาโตตุลาการเฮก ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ กลับไปรับใช้ประเทศของท่าน แต่ก็ยังคงช่วยเหลือประเทศไทยอยู่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงได้ช่วยประเทศไทยให้คืนสู่ฐานะประเทศเอกราช จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ 87 ปี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
    ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นชาวอิตาเลียน เดิมนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี (Pro. Corra do Feroci) เป็นผู้เดียวที่ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลอิตาลีและรัฐบาลสยามในจำนวนประติมากรอิตาลีให้เข้ามารับราชการเป็นประติมากรนายช่างศิลป์เอกในแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2442 ในรัชกาลที่ 6 ก่อให้เกิดประโยชน์และมีบทบาทสำคัญ ได้แก่
1. เป็นผู้วางรากฐานการสอนศิลปะแบบตะวันตก โดยใช้หลักศูตรอะเคเดมีศิลปะ (Academy of Art) ของนครฟลอเรนซ์
2. เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมเมื่อ พ.ศ. 2467 ต่อมาอีก 2 ปีเป็นโรงเรียนศิลปากรและในปี
พ.ศ. 2486 ได้สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร
    ผลจากการก่อตั้งสถาบันศิลปะทำให้ผลิตนายช่างศิลป์ จิตรกร ประติมากร สถาปนิกผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมไทยร่วมสมัยไว้มากมาย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    พระนามเดิมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คือ สังวาล พระบิดานามว่า ชู พระมารดา นามว่า คำ พระราชสมภพที่นนทบุรีเมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ช่วงปฐมวัยได้ย้ายมาอยู่ที่ธนบุรี บริเวณซอยวัดอนงคาราม ทรงศักษาที่โรงเรียนวัดอนงคาราม โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนสตรีวิทยาตามลำดับ จากนั้นทรงเข้าเรียนวิชาพยาบาลที่โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราชเมื่อ พ.ศ. 2456 ในเวลาต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเดินทางไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งทรงศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดแวร์ใน พ .ศ. 2462 ทั้งสองพระองค์ทรงหมั้นและเข้าพิธีอภิเษกสมรส ณ วังสระประทุม เมื่อวันที่ 101 กันยายน พ.ศ. 2463 ทรงมีพระธิดาและพระโอรส 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิลด และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตามลำดับ
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนเสมอมา ใน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คุณูปการต่อประเทศชาติและประชาชน ได้แก่ โครงการต่าง ๆ เช่น
- มูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จุดประสงค์เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนซึ่งประสบความเดือดร้อนยามเจ็บป่วยตามถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภาคของประเทศ ตลอดจนบรรดาตำรวจตระเวณชายแดนในท้องถิ่นด้วย
- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินกิจการด้านส่งเสริมอาชีพและรักษาศิลปกรรม วัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือ เพื่อช่วยแก้ไขพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน ตลอดจนให้การอบรมพัฒนาเยาวชนผู้นำชาวเขาและพัฒนาหมูบ้านไปด้วยกัน
- การสร้างโรงเรียนชาวเขา เพื่อส่งเสริมการศึกษาของชาวเขาในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้ตำรวจชายแดนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการสอน จากกระทรวงศึกษาธิการเป็นครูสอน
- โครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อสร้างความมั่นคง อยู่ดีกินดีในพื้นที่ดอยตุง เทือกเขานางนอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการพัฒนาต้นน้ำลำธาร ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติด และฟื้นฟูคุณภาพชีวิต
    ด้วยพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทซาบซึ้งและเคารพรักพร้อมใจถวายพระนามด้วยความเคารพรักว่า “สมเด็จย่า” และ “แม่ฟ้าหลวง” ในวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวัน “สังคมสงเคราะห์แห่งชาติ” และถวายพระราชสมัญญาพระองค์ว่า “มารดาแห่งการสงเคราะห์” เนื่องในมหามงคลพระชนมายุครบ 84 พรรษา นอกจากนี้ในการครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กระทรวงสาธารณสุขได้ถวายพระราชสมัญญาพระองค์ท่านเป็น “พระมารดาแห่งการสาธารณสุขไทย” อีกด้วย
    สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตด้วยอาการโรคพระหทัย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ท่ามกลางความเศร้าโศกของพระประยูรญาติและประชาชนชาวไทย